Warning: is_readable(): open_basedir restriction in effect. File(/includes/fbwpml.php) is not within the allowed path(s): (/home/admin/:/tmp/:/var/tmp/:/opt/alt/php74/usr/share/pear/:/dev/urandom:/usr/local/php74/lib/:/usr/local/php74/lib/:/usr/local/php72/lib/:/usr/local/php56/lib/:/usr/local/lib/php/) in /home/admin/domains/4mega.com/public_html/wp-content/plugins/facebook-for-woocommerce/includes/Integrations/Integrations.php on line 61

Warning: is_readable(): open_basedir restriction in effect. File(/includes/Integrations/Bookings.php) is not within the allowed path(s): (/home/admin/:/tmp/:/var/tmp/:/opt/alt/php74/usr/share/pear/:/dev/urandom:/usr/local/php74/lib/:/usr/local/php74/lib/:/usr/local/php72/lib/:/usr/local/php56/lib/:/usr/local/lib/php/) in /home/admin/domains/4mega.com/public_html/wp-content/plugins/facebook-for-woocommerce/includes/Integrations/Integrations.php on line 61
ถ้า ออกซิเจนในเลือด เราเพียงพอ เราก็จะแข็งแรง - 4MEGA

ถ้า ออกซิเจนในเลือด เราเพียงพอ เราก็จะแข็งแรง

ออกซิเจนในเลือด

ถ้า ออกซิเจนในเลือด เราเพียงพอ เราก็จะแข็งแรง

ปัจจุบันต่างๆ  Smart Watch รุ่นใหม่ๆ ทั้ง Apple Watch และ Garmin นอกจากจะมีการวัดค่า Heart Rate หรือ อัตราการเต้นของหัวใจแล้ว สมัยนี้ก็ยังมีเซ็นเซอร์ตรวจตัวปริมาณออกซิเจนในเลือดด้วยเช่นกัน ซึ่งปกติเราก็ได้ออกซิเจนจากการหายใจเข้าอยู่แล้ว เราทำไมค่าออกซิเจนในเลือดของแต่ละคนไม่เท่ากัน แล้วค่าออกซิเจนในเลือดมันสำคัญกับเราอย่างไร?

ออกซิเจนในเลือด มีหน้าที่ทำอะไร?

อากาศที่อยู่รอบตัวเรานั้นส่วนประกอบหลักคือ ออกซิเจน ซึ่งสำคัญต่อการดำรงชีวิตทั้งของมนุษย์ พืช และสัตว์ ก๊าซออกซิเจนนั้นมีความสำคัญกับกระบวนการทางร่างกายที่มากกว่าการหายใจเข้าไปแล้วหายใจออกมาเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อเราสูดก๊าซออกซิเจนเข้าไปในตัวแล้ว ร่างกายก็เริ่มกระบวนการหลายๆ อย่างไปพร้อมกัน เช่น เปลี่ยนอาหารในพุงให้เป็นพลังงาน เซลล์ต่างๆ ก็มีการซ่อมแซมตัวเอง วิตามินและเอนไซม์ต่างๆ ในตัวเราก็เริ่มทำงานตามหน้าที่ของมัน 

  • เปลี่ยนอาหารเป็นพลังงาน
  • เซลล์ต่างๆ ซ่อมแซมตัวเอง
  • วิตามินและเอนไซม์ต่างๆ ในตัวเราก็เริ่มทำงาน

ถ้าร่างกายเราขาดออกซิเจนละ?

ดังนั้น เมื่อร่างกายอยู่ในภาวะขาดออกซิเจนการทำงานของเม็ดเลือดแดงก็จะถูกขัดขวาง เซลล์ในร่างกายต่างๆ ก็จะเริ่มทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ เริ่มจากเผาผลาญอาหารได้น้อยลง การซ่อมแซมอวัยวะต่างๆ ของเซลล์ช้าลง สารอาหารที่เราทานเข้าไปในร่างกายไม่สามารถถูกเอามาใช้ได้เต็มที่ แล้วจากนั้นก็อาจจะส่งผลกระทบระยะยาวเช่น เซลล์กล้ามเนื้อ เซลล์ตับ เซลล์สมองก็จะตายลง นั่นคือภาวะหัวใจล้มเหลวที่กล่าวถึงในตอนต้น โดยเราแบ่งระดับต่างๆ ของออกซิเจนในเลือดที่มีผลกับร่างกายได้ดังนี้

เราสามารถวัดค่า ออกซิเจนในเลือดเรา ได้อย่างไร?

  1. เครื่องวัดออกซิเจนที่นิ้ว แต่ต้องเลือกเครื่องที่เชื่อถือได้ แนะนำให้หาใบรับรองด้วย เพราะตอนนี้ในตลาดมีตั้งแต่ราคาหลักร้อย จนถึงราคาหลักพัน
  2. Smart Watch ทั้งค่าย Apple และ Garmin แต่การวัดค่าออกซิเจนของ Smart Watch อาจจะไม่ได้ตรง 100% แต่สามารถวัดได้ทั้งวัน ทำให้สะดวกมากสำหรับคนที่อยากตรวจดูร่างกายของเราตลอดเวลา เพียงแค่กดดูที่นาฬิกาเท่านั้นเอง
  3. เครื่องตรวจวัดค่าออกซิเจนในโรงพยาบาล ในโรงพยาบาลก็เป็นเครื่องวัดค่าออกซิเจนจากที่นิ้วเหมือนกัน
เพิ่มปริมาณออกซิเจนในเลือด ออกซิเจนในเลือด

ระดับปริมาณออกซิเจนในเลือดของเรา

ระดับออกซิเจนต่ำ (Hypoxemia หรือ Hypoxia) ค่าออกซิเจนในเลือดน้อยกว่า 96%

  • อาจจะมาจากโรคโลหิตจาง
  • โรคปอดหรือโรคที่เกี่ยวข้องกับปอดและหลอดลม ภาวะน้ำท่วมปวด
  • หงุดหงิดง่าย
  • สติเริ่มพร่าเบลอ สมองสั่งการผิดๆ 

ระดับออกซิเจนปกติ – ปริมาณของออกซิเจนในเลือดนี้จะอยู่ที่ 96% ถึง 99% 

  • สมองจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีสมาธิที่ดี
  • ระบบความจำและการเรียนรู้ก็จะทำงานสัมพันธ์กับการสั่งการของสมอง
  • มีความคิด วิเคราะห์ แยกแยะ 

วิธีเพิ่มออกซิเจนในร่างกายง่ายๆ

  • สูดหายใจเข้าออกอย่างถูกวิธี (หายใจให้เต็มปอด หายใจด้วยท้อง)
  • ดื่มน้ำบ่อยๆ 
  • นวด ให้เลือดลมไหลเวียน
  • อาบน้ำ แช่น้ำอุ่น หรือ ซาวน่า ให้เลือดลมไหลเวียน
  • เพิ่มธาตุเหล็กในร่างกาย จากการกินอาหาร หรือ อาหารเสริมที่มีธาตุเหล็กสูง
  • ออกกำลังกาย อาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาทีเป็นอย่างต่ำ

ออกซิเจนในเลือด เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างมากต่อร่างกาย ดังนั้นเราจึงควรรักษาสมดุลของร่างกายด้วยการดูแลตัวเองสม่ำเสมอ หรือใช้ตัวช่วย เช่น ทานอาหารเสริมที่ช่วยเพิ่มออกซิเจนในร่างกาย เมื่อร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ระบบการทำงานทุกส่วนก็จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

อ้างอิงจาก https://adaybulletin.com/know-agenda-apple-watch-the-blood-oxygen/56281

Share this post

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น